วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551

การเตรียมไม้หน้าตอนจบ


หลังจากทำ rosette ด้านหน้าเสร็จเราปรับความหนาขอไม้หน้าตามที่เราต้องการจากนั้นก็ติด Brace ครับ  braec มีหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้ไม้หน้าและbrace ที่มีรูปแบบต่างกันก็จะรูปแบบการสั่นของไม้หน้าต่างกัน ส่งผลให้เสียงต่างกันเช่นกันครับ



เป็นขั้นตอนการติดbrace  เช่นกันต้องค่อยติดเป็นชุดครับจะได้มีพื้นที่ว่างสำหรับให้มือเราเข้าไปเช็ดกาวส่วนเกินออกได้







เสร็จแล้วครับไม้หน้าของเรา อ้อขัดกระดาษทรายเบอร์ 360 หน่อยนะครับเพื่อให้งานโครงสร้างภายในกีตาร์ของเราเรียบร้อยครับ


ทางช้ายเป็นไม้หน้ารูปแบบ brace แบบ Jose Romanillos ครับ ส่วนทางขวาแบบ Daniel Friederich


วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551

การเตรียมไ้ม้หน้า 2


มาต่อกันนะครับ


หลังจากต่อไม้หน้าแล้ว ดัดเป็นรูปกีตาร์เว้นขอบประมาณ 1 ซม.เผื่อไว้ไสกบ และใช้กบปรับให้ไม้ด้านหน้าและหลังให้เรียบ ความหน้าประมาณ 2.3-2.6 มม.


ใช้ Trimmer เจาะรูสำหรับฝัง Rosette


เตรียมไม้เส้นขนาด 2*2 มม. โดยใช้ใบกบช่วยปรับครับ


นำเส้นไม้ที่ได้มาเรียงกัน สีขาวเป็นไม้เมเปิ้ล สีดำเป็นไม้เวงเก้


ติดกาวก็ได้เป็น แท่งทางซ้าย และปรับด้วยกบจะได้เหมือนแท่งทางขวา


นำแท่งที่ปรับด้วยกบมาตัดเป็นแว่น ๆ หนาประมาณ 1.5 มม.


ขัดชิ้นงานที่ตัดเป็นแว่นๆ กับกระดาษทรายเพราะปรับให้เรียบ


นำมาเรียงในช่องที่เจาะไว้



ติดกาวและขัดปรับให้เรียบด้วยกระดาษทรายเบอร์ 180 เสร็จแล้วครับ Rosette
คราวหน้าติด ไม้โครง (Brace)



วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551

การเตรียมไม้หน้า 1 (Top process)


การเตรียมไม้หน้าตอนที่ 1 (Top process#1)
  
รูปที่1

ไม้หน้าที่เราเห็นนั้นประกอบด้วยไม้ 2 ชิ้น ไม้ทั้ง 2 ชิ้นเดิมเป็นไม้แผ่นเดียวกันอาจหนาประมาณ 1 ซม.
จากนั้นเราก็แบ่งครึ่งตามความหนาและปรับความหนาให้ได้ประมาณ 4 มม.และนำมาต่อกันที่เรียกภาษาช่างทำกีตาร์ว่า
Book match การนำไม้ท่อนเดียวกันมาต่อเป็นไม้หน้านั้นไม่เพียงแค่ความประหยัดไม้ (ไม่ต้องใช้ไม้หน้ากว้าง)
แต่ยังได้ไม้หน้า 2 ส่วนที่มีความเหมือนกันคือความหนาแน่นใกล้เคียงกันที่สุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหลายเหตุผลที่
ทำให้เกิดเสียงที่สม่ำเสมอ(ฺbalance sound)และลายไม้สมมาตรกันเกิดความสวยงามยิ่งขึ้น จากรูปที่
1เป็นการปรับเรียบส่วนที่ต้องการติดกาวให้เรียบของไม้ทั้งสองส่วนโดยใช้กบมือครับ

รูปที่ 2

หลังจากปรับแล้วต้องให้รอยต่อสนิทกันที่สุด เพราะถ้าไม่สนิทจริงอนาคตไม้หน้ากีตาร์ของเราอาจแยกเป็น 2 ซีกได้นะครับ

รูปที่ 3

ใช้เทคนิคการส่องรอยต่อของไม้หน้าผ่านหลอดไฟช่วยได้ครับ ต้องไม่มีแสงผ่านรอยต่อเลยครับ สำคัญมาก

รูปที่ 4

ขั้นตอนต่อไปติดกาวครับ กาวเราก็ใช้การ AR (Alifatic rasin) ติดดีมากครับเขาโฆษนาว่าทนแรงอัดได้ถึง 2500 ปอนด์ต่อตารางนิ้วเลย เห็นอย่างนี้แล้วหายห่วงกีตาร์เราไม่พังง่าย ๆแน่

รูปที่ 5

รูปนี้เป็นการต่อไม้วิธีการใช้เชือกและลิ่มครับ คลาสสิกมากวิธีนี้ คือยิ่งอัดลิ่มสามเหลี่ยมเข้าไปมากเชือกก็ตึงมากและเชือกก็รัดไม้แน่นขึ้นครับ

อ่อลืมบอกครับไม้หน้าที่เป็นเป็นไม้สนยุโรปครับ (Europian spruce)
วันนี้พักก่อนครับคราวหน้าเจอกันตอน 2 ครับ